วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

5 พฤติกรรมของสัตว์ที่คล้ายมนุษย์

1. ความฉลาดของหนู

        บ้างคนอาจไม่ชอบที่มีเจ้าหนู้อยู่ในบ้าน แต่ความเป็นจริงแล้ว การที่มันมาอยู่ในบ้านของเรานั้นมีประโยชน์ต่อมันไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะเรื่องความฉลาดของมันนั่นเอง การศึกษานี้พบว่า หนูที่เป็นสัตว์เลี้ยงนั้นจะฉลาดมากกว่าหนูที่อยู่ในป่า ซึ่งเหตุผลอาจจะเป็นเพราะว่าอยู่กับมนุษย์ ในการศึกาานี้พวกเค้าใช้หนูตะเภาบ้านกับหนูตะเภาป่าไปวางในทางวงกตน้ำ ซึ่งพวกเขาพบว่าหนูตะเภาบ้านนั้นสามารถหาทางออกได้ดีกว่า เหตุผลของความฉลาดนี้ถูกสันนิษฐานว่ามาจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น(รัง) 

2. ความจำของม้า

        เรื่องที่น่าประหลาดใจอีกเรื่องคือ เรื่องของเจ้าม้าที่มีความสามารถในการจดจำระยะยาวและมีความจงรักภักดี การศึกษาพบว่าม้าที่มีประสบการณ์ที่น่าพอใจกับมนุษย์ที่คุ้นเคย เช่น เทรนเนอร์ นั้นจะมีการจำประสบการณ์ที่ถูกเทรนมาอย่างฝั่งใจมากกว่า และจะแสดงความดีใจจากการที่ไม่ได้เจอกันเป็นเดือน นอกจากนี้ ม้าที่ผ่านประสบการณ์ดีๆกับมนุษย์มาก็จะมีโอกาสในการเข้ากับมนุษย์คนอื่นๆได้ดี(โดยการดมหรือเลีย) การศึกษานี้กล่าวว่าพฤติกรรมที่ม้ากระทำนั้นแสดงให้เห็นว่าม้าสามารถสร้างความทรงจำดีๆกับมนุษย์ได้ ซึ่งก็แปลว่ามันมีความฉลาดไม่น้อยเลย

3. การส่ายหัวของโบโนโบ


      ในขณะที่สัตว์ตัวอื่นๆนั้น อาจจะเป็นมิตรหรือซื่อสัตวืต่อมนุษย์ แต่มีสัตว์ประเภทหนึ่งที่ก้มีขอบเขตเหมือนๆกับมนุษยือีกด้วย เช่น โบโนโบ การศึกาานี้พบว่าการส่ายหัวของโบโนโบที่โตเต็มวัยยเมื่อมันไม่เห้นด้วยหรือไม่ยอมให้พวกที่อายุน้อยกว่าทำพฤติกรรมที่ไม่ชอบธรมม ตัวอย่างเช่น หลังจากที่แม่โบโนดบนั้นคว้าก้านต้นหอมออกจากมือลูกน้อยที่ดูเหมือนจะเล่นกับสิ่งควรจะเป็นอาหาร เจ้าหนูน้อยนั้นก็แน่นอนว่าต้องการก้านต้นหอมคืนเพื่อจะเล่นต่อแต่ตัวแม่นั้นส่ายหัวเหมือนกับจะพูดว่า "ไม่ได้" ยังไงอย่างนั้น การศึกษาก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์ได้สังเกตว่าโบโนโบส่ายหัวเพื่อเล่นกันเท่านั้น ซึ่งการค้นพบครั้งใหม่นี้แสดงให้เห็นว่าการส่ายหัวของโบโนโบอาจจะเป้นที่มาของการส่ายหัวเพื่อบ่งบอกถึงการแสดงออกทางด้านลบในมนุษย์
      
4. หน้าตาของหนู




        หน้าตาของหนูเปลี่ยนไปตามอารมณ์ของมันได้!! นักวิทยาศาสตร์ได้ถ่ายวีดีโอการเคลื่อนไหวใบหน้าของหนูหลังจากที่โดนฉีดสารที่ทำให้ระคายเคืองเข้าไป เมื่อเจ้าหนูรู้สึกเจ็บปวด มันจะทำหน้าไม่สบายใจโดยการหรี่ตาลง,ป่องแก้ม,ขยับหูและขยับหนวดขึ้นหรือลง หลังจากที่เจ้าหนูได้รับยาแก้เจ็บปวดใบหน้าของมันก็จะเป็นปรกติ การทดลองนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สร้างเครื่องวัดความเจ็บปวดของหนูขึ้นมาเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถลดความเจ็บปวดของสัตว์ทดลองเหล่านี้ในการทดลองทางการแพทย์ในภายภาคหน้าได้

5. การไว้ทุกข์ของชิมแปนซี


         การศึกษาเกี่ยวกับการไว้ทุกข์ของชิมแปนซีนั้นเผยให้เห็นถึงความรู้สึกที่มากกว่าที่เราคิดไว้ การศึกษานี้ได้สำรวจจากพฤติกรรมของชิมแปนซีโตเต็มวัย 3ตัวที่มีต่อเพื่อนตัวเมียอายุมากที่กำลังจะเสียชีวิต หลังจากที่พวกมันรู้ว่าเพื่อนจะจากไปอย่างไม่มีวันกลับ พวกมันได้แสดงพฤติกรรมไว้ทุกข์อย่างหลากหลาย โดยเหล่าชิมแปนซีนั้นจะอยู่ข้างๆเพื่อนและสางผมมันเบาๆอย่างกลับว่าจะปลอบ เมื่อเหล่าชิมแปนซีพักผ่อนตอนกลางคืน พวกมันจะขยับพลิกตัวไปมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่สบายใจเกี่ยวกับความตายที่กำลังใกล้เข้ามา เมื่อเห็นเพื่อนตาย เหล่าชิมแปนซีนี้ก็พยายามจะทำให้เพื่อนฟื้นขึ้นมา และเมื่อพวกมันรู้ว่าเพื่อนได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับ เหล่าชิมแปนซีนั้นก็ได้ออกห่างจากร่างไร้วิญญาณนั้นอย่างช้าๆ และพวกมันก็จะเข้าใกล้ร่างนั้นอีกครั้งเพื่อพยายามทำให้เพื่อนฟื้นอีกครั้งหรือไม่ก็เข้ามาเพื่อเช็กให้แนฃ่ใจว่าเพื่อนตายไปแล้ว หลังจากนั้นเหล่าชิมแปนซีก็จะปัดเศษฟางออกจากหน้าและสางขนให้ การค้นพบนี้ทำให้รู้ว่าการไว้ทุกข์และบอกลาจะเป็นผลดีมากกว่าที่จะปล่อยให้ชิมแปนซีจากไปจากฝูงอย่างเป็นธรรมชาติ

1 ความคิดเห็น: